กินอยู่ปลอดภัย EP.21 การย่อยสลายของบรรจุภัณฑ์

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 - เราคงเคยได้ยินคำว่า “บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก” กันมาเยอะ แต่แท้จริงแล้วบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทมีการย่อยสลายอย่างไรได้บ้าง?

 

1. Degradable หรือ การแตกสลาย ยกตัวอย่างเช่น EDP (Environment Degradable Plastic) คือพลาสติกเติมสารเร่งปฎิกิริยาให้แตกตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะแตกตัวเป็นไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในระบบนิเวศ พลาสติกประเภทนี้ เช่น oxo-degradable ซึ่งหลายๆประเทศได้ห้ามใช้ไปแล้ว
2. Biodegradable หรือ การแตก/ย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ในดิน แต่ย่อยกลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ไม่ได้ การย่อยสลายประเภทนี้ไม่มีระยะเวลากำหนดว่าต้องใช้เวลาย่อยสลายไม่เกินเท่าไหร่
3. Compostable หรือ การย่อยสลายสมบูรณ์ กลายเป็น น้ำ คาร์บอนไดออกไซต์ และสารชีวมวล โดยภาชนะที่ย่อยสลายได้แบบ compostable จะต้องมีมาตรฐานสากลยอมรับ
 
 
นอกจากนั้น หลายๆคนอาจสงสัยว่า พลาสติกบางประเภท สามารถย่อยสลายได้จริงหรือไม่? คำตอบคือ สามารถย่อยสลายได้ แต่ต้องอยู่ในสภาวะควบคุม เช่น อุณหภูมิ 50 – 60 องศาเซสเซียส จุลินทรีย์ และความชื้น
 
 
หากเราใช้พลาสติกชีวภาพกันเยอะขึ้น แต่กระบวนการคัดแยกและกำจัดขยะยังไม่ถูกวิธี อาจทำให้พลาสติกชีวภาพเหล่านี้ไปรบกวนการรีไซเคิลพลาสติกทั่วไป ซึ่งจะสร้างปัญหาเยอะขึ้นอีก 
 
 
ลองหันมาเลือกใช้ภาชนะจากเยื่อพืชธรรมชาติ 100% สะอาด ปลอดภัย ย่อยสลายได้แบบ compostable 100% ไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมแน่นอนค่ะ
 

#ไม่ใช้ซ้ำ #ไม่ใช้ร่วม #ไม่แพร่เชื้อ

“กินอยู่ปลอดภัย กับ เกรซ ภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย จากธรรมชาติ 100%”

 

 

#gracz #บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม #เกรซภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย #สุขภาพเราสุขภาพโลก #ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ #ย่อยสลายได้ใน45วัน #ไม่เคลือบพลาสติก #ภาชนะรักษ์โลก #กล่องชานอ้อย #กล่องใส่อาหาร #กล่องอาหาร #ชามชานอ้อย #บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก #กินอยู่ปลอดภัย #ใช้ครั้งเดียวทิ้ง #โควิด19 #covid19