กินอยู่ปลอดภัย EP.19 อาหารปลอดภัยต้องไม่ปนเปื้อน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 - สิ่งที่เรามองไม่เห็น ใช่ว่าจะไม่มีอยู่จริง… สารปนเปื้อนในอาหารก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้เราจะมองไม่เห็น แต่สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของเราได้

 

นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลกระทบของสารปนเปื้อนในอาหารมี 2 ระยะ ได้แก่

 

  1. ระยะฉับพลัน - เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้ขึ้น หรือปวดท้องงร่วมด้วย
  2. ระยะยาว – ระยะนี้น่ากลัวกว่าระยะฉับพลัน เกิดจากการสะสมสารปนเปื้อนในร่างกาย และสามารถส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะแทบทุกระบบ รวมถึง การเป็นมะเร็งอีกด้วย

 

การปนเปื้อนในอาหาร มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น การปนเปื้อนทั่วไป เช่น เศษผง ฝุ่น หรือ แมลง การปนเปื้อนสารเคมี หรือ การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ นอกจากนั้น สารปนเปื้อนในอาหาร ก็อาจมีสาเหตุจากภาชนะที่เราใช้ก็ได้ เช่น การนำภาชนะที่ไม่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ ไปอุ่นอาหารในไมโครเวฟ เช่น พลาสติกบางชนิด ซึ่งเมื่อโดนความร้อน ก็จะปล่อยสารไดออกซิน (Dioxins) ออกมา หากสะสมในร่างกายมากๆ ก็อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

 

เลือกทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และเลือกใช้ภาชนะ ที่สะอาด ปลอดภัย สามารถเข้าไมโครเวฟ เตาอบ และตู้เย็นได้ โดยไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อน หรือสารเคมีตกค้างในอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี และชีวิตที่ปลอดภัยค่ะ

#ไม่ใช้ซ้ำ #ไม่ใช้ร่วม #ไม่แพร่เชื้อ

 

 

“กินอยู่ปลอดภัย กับ เกรซ ภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย จากธรรมชาติ 100%”

 

#gracz #บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม #เกรซภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย #สุขภาพเราสุขภาพโลก #ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ #ย่อยสลายได้ใน45วัน #ไม่เคลือบพลาสติก #ภาชนะรักษ์โลก #กล่องชานอ้อย #กล่องใส่อาหาร #กล่องอาหาร #ชามชานอ้อย #บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก #กินอยู่ปลอดภัย #ใช้ครั้งเดียวทิ้ง #โควิด19 #covid19