กินอยู่ปลอดภัย EP.11 โควิด 19 ผลต่อโรดแมพเลิกใช้ 7 พลาสติก
วันที่ 14 กันยายน 2563 - ในช่วงโควิด 19 ยอดการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ เพิ่มขึ้นกว่า 57% โดยในทุกๆออเดอร์ จะมีการสร้างขยะถึง 11 ชิ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากวันละ 5,500 ตัน เป็นวันละ 6,300 ตัน อีกทั้ง ปริมาณการใช้โฟมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ มั่นใจว่า จะสามารถทำตามโรดแมพเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิดได้ ภายในปี 2565 เนื่องจากในช่วงโควิด 19 คนให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
พลาสติก 7 ชนิดที่จะถูกเลิกใช้ในไทย ภายในปี 2565 ได้แก่
- ไมโครบีดส์จากพลาสติก
- พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำ (Cap Seal)
- ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผสมสารประเภท Oxo-Degradable
- ถุงพลาสติกหูหิ้ว ขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน
- กล่องโฟมบรรจุอาหาร
- แก้วพลาสติก (ใช้ครั้งเดียวทิ้ง)
- หลอดพลาสติก
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ขอความร่วมมือจากแพลทฟอร์มเดลิเวอรี่ต่างๆ ทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งสินค้า ให้เลือกใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ชานอ้อย
นอกจากนั้น กรมควบคุมมลพิษยังผลักดันกฎหมายการบริหารจัดการพลาสติกในประเทศ และหากทุกคนร่วมมือกัน ใส่ใจทั้งสุขภาพเรา สุขภาพโลก เราจะสามารถทำตามโรดแมพเลิกใช้พลาสติก 7 ชนิดได้ ภายในปี 2565 ได้อย่างแน่นอน
#ไม่ใช้ซ้ำ #ไม่ใช้ร่วม #ไม่แพร่เชื้อ
“กินอยู่ปลอดภัย กับ เกรซ ภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย จากธรรมชาติ 100%”
#gracz #บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม #เกรซภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย #สุขภาพเราสุขภาพโลก #ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ #ย่อยสลายได้ใน45วัน #ไม่เคลือบพลาสติก #ภาชนะรักษ์โลก #กล่องชานอ้อย #กล่องใส่อาหาร #กล่องอาหาร #ชามชานอ้อย #บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก #กินอยู่ปลอดภัย #ใช้ครั้งเดียวทิ้ง #โควิด19 #covid19