กินอยู่ปลอดภัย EP.17 การย่อยสลายของบรรจุภัณฑ์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - ทุกวันนี้ เราพบเห็นบรรจุภัณฑ์ พร้อมข้อความ “ย่อยสลายได้” จำนวนมากในท้องตลาด แต่เรารู้ไหมว่า “ย่อยสลาย” คืออะไร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่?

 

ทั่วโลก มีการผลิตพลาสติกถึงปีละ 61 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกธรรมดา ใช้เวลาการย่อยสลายกว่า 450 ปี แถมยังกลายเป็น microplastic ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม

 

ต่อมา มีการพยายามแก้ปัญหา โดยการเติมสาร oxo เข้าไป เพื่อให้พลาสติกย่อยสลายเร็วยิ่งขึ้น แต่กลับเพิ่มปัญหา microplastic ในสิ่งแวดล้อม หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย จึงสั่งแบนพลาสติกประเภทนี้

 

พลาสติกอีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม คือ พลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic ที่ผลิตจากพืช และน้ำมันปิโตรเลียม มีปริมาณการผลิต 2.4 ล้านตันต่อปี แต่มีเพียง 1 ล้านตันเท่านั้น ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้จริงๆในสภาวะควบคุม

 

คุณวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า การย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพ ต้องอาศัยการควบคุมในภาวะเหมาะสม โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ คือ จุลินทรีย์ อุณหภูมิ (ประมาณ 50 – 60 องศาเซลเซียส) ความชื้น และการกดทับจากดิน ดังนั้น ต้องยอมรับว่าพลาสติกชีวภาพมีต้นทุนในการย่อยสลายที่สูง

 

ในปัจจุบัน เราสามารถหาซื้อภาชนะได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ลองหันมาใช้ ภาชนะจากเยื่อพืชธรรมชาติ 100% ที่สะอาด ปลอดภัย และย่อยสลายได้ในสภาวะปกติ 100% กลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ เพื่อช่วยกันรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกันค่ะ

#ไม่ใช้ซ้ำ #ไม่ใช้ร่วม #ไม่แพร่เชื้อ

 

“กินอยู่ปลอดภัย กับ เกรซ ภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย จากธรรมชาติ 100%”

 

#gracz #บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม #เกรซภาชนะเพื่อชีวิตปลอดภัย #สุขภาพเราสุขภาพโลก #ผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ #ย่อยสลายได้ใน45วัน #ไม่เคลือบพลาสติก #ภาชนะรักษ์โลก #กล่องชานอ้อย #กล่องใส่อาหาร #กล่องอาหาร #ชามชานอ้อย #บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก #กินอยู่ปลอดภัย #ใช้ครั้งเดียวทิ้ง #โควิด19 #covid19